พระเครื่อง เครื่องราง

6 วิธีสร้างพัฒนาการทางภาษาให้ลูกน้อย

นับว่าเป็นเรื่องที่น่าภุมิใจอย่างมากสำหรับคุณแม่ที่สามารถดูแลครรภ์ได้อย่างมีสุขภาพแข็งแรงปลอดภัยทั้งแม่และลูก จนกระทั่งถึงวันคลอดและเมื่อคุณตั้งใจเลี้ยงดูเขาอย่างดีมาโดยตลอดจนถึงอายุของลูกน้อยเริ่มครบขวบ ไม่นานคุณแม่จะเริ่มสังเกตเห็นพัฒนาการทางการพูดของเขาได้มากขึ้น โดย Dr. Richard Woolfson ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้บอกไว้ว่าคุณพ่อคุณแม่เองก็สามารถช่วยกระตุ้นส่งเสริมเพื่อให้พัฒนาการทางภาษาของลูกน้อยเป็นไปได้ดีมากขึ้น เพียงคุณทำตาม 6 วิธีสร้างพัฒนาการทางภาษาให้ลูกน้อยดังนี้

แม่ ลูก เด็ก ทารก
แม่ ลูก เด็ก ทารก

6 วิธีสร้างพัฒนาการทางภาษาให้ลูกน้อย

1. พูดให้ลูกฟังเป็นตัวอย่างบ่อยๆ
เด็กที่กำลังเติบโตทักษะการสังเกตจดจำจะดีมากขึ้นตามลำดับ หากคุณแม่หมั่นพูดเป็นตัวอย่างให้เขาฟังอยู่เสมอ เขาจะจดจำและหมั่นออกเสียงหรือพูดตามคุณได้ดียิ่งขึ้นเลยล่ะ

2. ปล่อยให้เขาลองพูดออกเสียง
หลังจากที่คุณแม่หมั่นพยายามพูดเป็นตัวอย่างเพื่อให้เขาออกเสียงตามเราแล้ว ทั้งนี้ คุณแม่อย่าเพิ่งใจร้อนเพื่อเป็นการบังคับให้เขารีบเร่งหัดพูดหรือฝึกพูดตามเร็วๆ ควรปล่อยให้เขาค่อยๆ เปล่งเสียงอย่างเป็นธรรมชาติไปเอง เมื่อเขาต้องการพูดสิ่งใดเขาจะพูดของเขาเองค่ะ แม้ว่าเขาอาจจะยังเรียกชื่อของสิ่งนั้นได้ไม่ถูกก็ตาม คุณควรใจเย็นๆ แล้วค่อยๆ สอนเขาไปเรื่อยๆ ทีละเล็กน้อยทุกวัน เขาย่อมจดจำได้ในวันหนึ่งแน่นอนค่ะ

3. พูดคุยกับลูกน้อยอยู่เสมอ
เนื่องจากการหมั่นพูดคุยกับลูกอยู่เสมอจะทำให้เขาหัดเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างเป็นธรรมชาติ โดยปกติ เด็กจะเริ่มฝึกพูดหรือเปล่งเสียงออกมานั้นก็เนื่องจากการฟังก่อนอันดับแรก หากเขาได้ยินเราพูดอะไรๆ เขาจึงจะหัดเลียนแบบหรือออกเสียงพูดตามเราในเวลาต่อมาเองค่ะ

4. อ่านหนังสือช่วยกระตุ้นทักษะทางภาษา
ในหนึ่งวันคุณแม่ควรหาเวลามาอ่านหนังสือให้เขาฟังบ้าง ไม่ว่าจะเป็นในช่วงกลางวันหรือก่อนเข้านอน ทั้งนี้ จะช่วยกระตุ้นให้สมองของลูกน้อยเกิดการเรียนรู้ จดจำและเมื่อได้ยินเราอ่านหนังสือให้บ่อยๆ เขาจะเริ่มสังเกต หัดเปล่งเสียงและเริ่มพูดตามที่เราออกเสียงขึ้นมาเอง อีกทั้งการอ่านหนังสือนิทานสักเล่มยังเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยดึงความสนใจให้แก่ลูกน้อยได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

แม่ ลูก เด็ก
แม่ ลูก เด็ก

5. ให้ความสนใจเมื่อเขาเปล่งเสียงให้ได้ยิน
ในยามที่เด็กๆ ฝึกพูดเขาจะส่งเสียงอ้อแอ้ตามประสาเด็ก แม้เพียงแค่นั้นหากก็เป็นการแสดงออกถึงความต้องการอยากสื่อสารของลูกน้อยได้เป็นอย่างดีแล้ว ดังนั้น เมื่อลูกน้อยของคุณมีเสียงอ้อแอ้ออกมา ให้คุณแม่พยายามตั้งใจฟังในสิ่งที่เขาพูด เพื่อที่ให้เขารู้ว่าสิ่งที่เขากำลังทำอยู่นั้นคุณแม่เองก็ตั้งใจฟังเขามากเช่นเดียวกัน ลูกน้อยจะยิ่งรู้สึกภูมิใจ มั่นใจและอยากเปล่งเสียงให้คุณฟังมากยิ่งขึ้น

6. ร้องเพลงและพูดคำที่คล้องจองกัน
กิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ อย่างการร้องเพลง พูดคำหรือจังหวะที่คล้องจองกันอย่างเพลงหรือคำกลอน จะช่วยกระตุ้นให้เขารู้สึกสนุกและอยากฟังอย่างเพลิดเพลิน ทำให้เกิดการจดจำ เรียนรู้และฝึกพูดตามคุณขึ้นมาเอง และเพื่อให้กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านภาษาเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น คุณควรหาเวลาว่างพาเขาไปพบเจอผู้คนหมู่มาก เช่น พาไปเจอเพื่อนๆ ในวัยเดียวกันกับเขาเพื่อให้เขาฝึกกระตุ้นเกิดการออกเสียง พูดคุยแข่งกันหรือได้มีโอกาสคุยกันหรือคุณแม่อาจจะพาไปเล่นกับบ้านคุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยายหรือเจอสมาชิกในบ้านเพิ่มมากขึ้นก็ยังได้ เท่านี้ก็เป็นการช่วยกระตุ้นด้านการพูดได้ดีแล้ว

แม่ ลูก เด็ก
แม่ ลูก เด็ก

นอกจากการที่คุณแม่เฝ้าเลี้ยงดูลูกอย่างทะนุถนอมกันแล้ว เรื่องทักษะต่างๆ เหล่านี้จะเป็นไปได้ดียิ่งขึ้นส่วนหนึ่งก็ต้องมาจากการทานอาหารด้วย ดังนั้น คุณจึงต้องคัดสรรอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในวัยนี้ให้ดี ควรเลือกอาหารตามหลักโภชนการอย่างครบถ้วนไปพร้อมกัน พาลูกนอนหลับให้เต็มอิ่มเพียงพอให้เขาหลับสนิทเพียงเท่านี้ก็จะยิ่งช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในด้านภาษาให้ลูกน้อยได้ดียิ่งขึ้นไปพร้อมกันได้เป็นอย่างดีแล้วค่ะ

เป็นอย่างไรบ้างคะ คุณแม่มือใหม่ทั้งหลาย หวังว่าทั้ง 6 วิธีสร้างพัฒนาการทางภาษาให้ลูกน้อยที่เรานำมาแนะนำคุณแม่ครั้งนี้ จะช่วยพัฒนาทักษะการฟังและการพูด ช่วยกระตุ้นให้การใช้ภาษาของลูกเป็นไปในทางที่ดียิ่งขึ้นได้นะคะ เพราะคำพูดแรกของลูกเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้พ่อแม่ปลาบปลื้มใจมากทีเดียว ยิ่งหากวันหนึ่งเขาสามารถเรียกคุณว่า “แม่” หรือ “พ่อ” ได้เต็มปากชัดเจนเมื่อไร คุณจะยิ้มหน้าบานอย่างมีความสุขมากขึ้นทีเดียว ดังนั้น อย่าลืมหมั่นส่งเสริมพัฒนาการทางสมองด้านนี้ให้ลูกน้อยกันเป็นประจำนะคะ