พระเครื่อง เครื่องราง

โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

หากมีการสังเกตจะเห็นว่าร่างกายของคนแก่มีการหดสั้นลง เมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อตอนเป็นวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงาน และจะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นตามลำดับ

บางคนมีอาการหลังค่อม และหลังงอเลยทีเดียว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ความแข็งแรงทั้งหมดที่สะสมมาตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบันหลายสิบปีหายไปไหนได้บ้าง เราลองมาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้น 

โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ
โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

ภาวะโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน  เกิดจากความหนาแน่นของกระดูกหรือมวลกระดูกมีน้อยลง จนทำให้กระดูกเปราะกว่าปกติ หักง่าย มักไม่ค่อยแสดงอาการ แต่ในผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการหลังโก่ง หลังค่อม เตี้ยลง ความสูงลดลง นี่เป็นอาการที่ชัดเจนที่แสดงว่ากำลังเข้าสู่ภาวะกระดูกพรุน และเป็นภัยเงียบสำหรับผู้สูงอายุทุกคนเนื่องจากไม่แสดงอาการนี่เอง

โดยจากสถิติขององค์การอนามัยโลกพบว่า “โรคกระดูกพรุน” เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขต่อประชากรผู้สูงอายุมากที่สุด โดยผู้หญิงมีโอกาสกระดูกหักจากโรคนี้สูงถึง 30-40% และผู้ชายมีโอกาสกระดูกหักสูงถึง 13% และเมื่อเป็นแล้วจะเกิดการทุพพลภาพและเสียชีวิตค่อนข้างมาก ถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาอย่างดี ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว จะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการหกล้มเพราะมีความเสี่ยงสูงมากที่จะกระดูกหักตามมา 

โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ
โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

สาเหตุ

1.ร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมเพียงพอ  โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กและวัยหนุ่มสาว ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายต้องสร้างความหนาแน่นของกระดูกมากที่สุด

2.กรรมพันธุ์ หากมีปู่ย่า ตายาย มีอาการของโรคกระดูกพรุนอย่างชัดเจน จะทำให้บุตรหลานมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนหรือมีอาการเช่นเดียวกันสูงถึง 80% เลยทีเดียว ส่วนอีก 20% ขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหารและออกกำลังกาย

3.ผลจากการใช้ยา  เนื่องจากยารักษาบางโรคมีผลต่อความหนาแน่นของกระดูก โดยเฉพาะกลุ่มเสตียรอยด์ หรือการรักษาโดยการฉายรังสี หรือการให้สารเคมี ก็มีส่วนในการทำลายเซลล์กระดูกซึ่งนำไปสู่โรคกระดูกพรุนได้

4.การสูบบุหรี่ ดื่มสุราเป็นประจำจะทำให้ลดประสิทธิภาพการดูดซึมธาตุแคลเซียมในร่างกาย ทำให้กระดูกเสื่อมและหดตัวเร็วขึ้น

5.ดื่มกาแฟมากๆ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น โค๊ก ชา เป็นต้น ก็ทำให้กระดูกเสื่อมได้ง่าย

6.การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนของหญิงวัยหมดประจำเดือน ทำให้มวลกระดูกของผู้หญิงในวัยนี้ลดลงถึง 3-5% ต่อปี และเกิดภาวะที่ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง

7.การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ จะทำให้ร่างกายขาดแคลเซียมได้ และเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนได้

8.การไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย โดยเฉพาะในวัยชรา หากไม่ออกกำลังกายจะทำให้เกิดการสูญเสียความแข็งแรงของกระดูก โดยเฉพาะบางคนต้องนั่งรถเข็น หรือนอนพักฟื้น

9.การขาดวิตามินดี เพราะวิตามินดีจะช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ
โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

การตรวจหาโรคกระดูกพรุน

การตรวจที่นิยมทำกันในปัจจุบัน คือ การตรวจด้วยเครื่องวัดมวลกระดูก ซึ่งก็ไม่ยุ่งยาก  ไม่เจ็บตัวและรู้ผลในเวลาอันรวดเร็ว คนที่มีภาวะเสี่ยงหรืออายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไปควรได้รับการตรวจ เพราะจะทำให้ทำการรักษาได้ทันท่วงทีอย่างเหมาะสม

แนวทางการป้องกัน

– หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ  โดยเฉพาะในบริเวณกลางแจ้งเมื่อมีแสงแดดอ่อนๆ เช่น เวลาเช้า หรือเวลาเย็น

– หากมีความเจ็บป่วย ก็ไม่ควรนอนนิ่งๆ ควรรีบทำกายภาพบำบัด หรือมีการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ร่างกายได้ออกกำลังและกระตุ้นให้กระดูกมีความแข็งแรงอยู่เสมอ

– ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลา งา นม ผักและผลไม้ เป็นต้น

– ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เช่น ยาลูกกลอน เพราะมักมีสารเสตียรอยด์ผสม ทำให้กระดูกพรุนได้โดยไม่รู้ตัว

ผู้สูงอายุ ยิ่งมีอายุมากขึ้นยิ่งมีปัญหาเรื่องกระดูกเป็นธรรมดา แต่ทั้งนี้ หากเราหันมาดูแลใส่ใจกันตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการกินอาหารเสริมแคลเซียมบำรุงกระดูก และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำลายกระดูกเสื่อมเร็วก็จะทำให้กระดูกแข็งแรงได้อย่างยาวนานแน่นอนค่ะ