พระเครื่อง เครื่องราง

แนะวิธีแก้ปัญหาเมื่อลูกน้อยเบื่ออาหาร

ปัญหาที่เด็กเบื่ออาหารและไม่ค่อยชอบกินข้าว เป็นปัญหาที่สามารถพบได้บ่อย และพบมากในเด็กที่มีช่วงอายุประมาณ 1-7 ปี จนเป็นเหตุให้ตัวพ่อแม่เองที่เกิดความกังวลใจ และรู้สึกว่าลูกน้อยได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ พยายามหาซื้ออาหารเสริมมาทดแทนให้กับเด็กและนั่นก็อาจจะเป็นวิธีที่ผิด เพราะจะทำให้เด็กไม่พยายามกลับมากินอาหาร และไม่คุ้นชินกับรสชาติของอาหารที่มีประโยชน์

ลูก เด็ก
ลูก เด็ก

สาเหตุที่เด็กไม่ยอมกินข้าว

สาเหตุที่เด็กมักไม่ค่อยยอมกินข้าวนั้น อาจจะเนื่องมาจากความวิตกกังวลที่มากเกินไปของพ่อแม่ กลัวว่าเด็กจะได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย กลัวว่าลูกจะไม่เจริญเติบโตได้ช้า จนส่งผลให้พ่อแม่เกิดการแก้ปัญหาแบบผิดๆ ไม่ตรงตามเหตุที่เกิดขึ้นจนอาจจะนำมาซึ่งปัญหาที่รุนแรงจนไม่สามารถแก้ไขได้ตามมา และสิ่งที่พ่อมักจะเข้าใจผิดเริ่มตั้งแต่ การพยายามให้เด็กกินมาก เมื่อเด็กมีน้ำหนักตัวมากขึ้นและเริ่มอ้วน ต่างก็เข้าใจว่าเป็นเด็กที่มีความแข็งแรง และพยายามยัดเยียดเด็กด้วยการกินเพิ่มมากขึ้น และที่สำคัญพ่อแม่ส่วนมากไม่เข้าใจว่าในช่วงอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เด็กจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและสนใจการกินน้อยลงตามธรรมชาติ เนื่องจากเด็กจะมีการเจริญเติบโตที่ช้าลงมา ทำให้เด็กไม่ค่อยอยากกินอาหารเหมือนเช่นเคย

อีกทั้งพ่อแม่มักจะไม่ค่อยได้สังเกตปริมาณการกินที่เด็กต้องการจริงๆ ในแต่ละวัน แต่จะใช้ความเข้าใจตนเองในการตัดสิน พยายามให้ลูกกินในปริมาณที่ตนเองกำหนดไว้ จนบางครั้งกลายเป็นว่าปริมาณอาหารที่เด็กต้องการในแต่ละวันมากเกินความต้องการของร่างกาย และไปสรุปผลเอาเองว่าเด็กกินน้อย เบื่ออาหาร ทั้งที่เด็กกินปกติตามความต้องการจริงๆ เท่านั้นเอง เมื่อการแก้ปัญหาของพ่อแม่ที่ผิดวิธีคือการดุด่า บังคับ และลงโทษเด็ก ส่งผลให้เด็กเกิดภาวะเก็บกดและต่อต้านการกินเพิ่มมากขึ้น จนเด็กจะไม่รู้สึกหิวเมื่อถึงเวลาของมื้ออาหาร ส่งผลให้เด็กกินน้อยลง เบื่ออาหาร อมข้าว และเกิดการต่อรองการกินตามมาได้

แม่ ลูก เด็ก
แม่ ลูก เด็ก

ดังนั้น การแก้ปัญหาที่ดีจะต้องเริ่มต้นจากตัวของพ่อแม่เองที่ต้องทำความเข้าใจกับลูกน้อยให้มากขึ้น และช่วยสร้างทัศนะคติแง่บวกให้กับเด็ก ไม่ฝืนใจเมื่อเด็กไม่ยอมกิน พยายามปล่อยวางและอย่ากดดันเด็ก และฝึกสุขลักษณะที่ดีให้เด็กจนเกิดความคุ้นชิน และหมั่นชวนลูกทานอาหารโดยมีคุณนั่งทานด้วยกันบ่อยๆ อาจจะจัดสรรช่วงเวลารับประทานอาหารภายในครอบครัวให้เกิดขึ้นอย่างอบอุ่น ทุกคนอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันก็จะช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมในการกินที่ดีขึ้นได้ด้วยตัวเอง