พระเครื่อง เครื่องราง

สารพันคำถามที่คุณแม่หลังคลอดอยากรู้คำตอบ

ร่างกายของคุณแม่หลังคลอดมักเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง ทั้งนี้เป็นเพราะฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปและไม่คงที่จนส่งผลกระทบถึงร่างกายและจิตใจแล้วจึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพแปลกๆ ตามมา

คุณแม่หลังคลอดคนไหนที่กำลังมีคำถามสงสัยถึงอาการต่างๆ ของตัวเอง ตามเรามาดูคำถามและคำตอบเหล่านี้ไปพร้อมกันสิคะ คุณอาจจะพบคำตอบที่ตรงใจมากขึ้นก็เป็นได้

แม่ ลูก เด็ก ทารก
แม่ ลูก เด็ก ทารก

ฮอร์โมนหลังคลอดทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?

ในช่วงตั้งครรภ์และหลังคลอด คุณแม่จะมีฮอร์โมนทุกชนิดโดยเฉพาะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน หลังจากนั้นเมื่อคลอดลูกแล้วเกิดความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนต่างๆ ก็จะส่งผลให้ร่างกายเกิดปัญหาสุขภาพแปลกๆ เช่น ชาตามมือเท้า เป็นตะคริว ท้องผูกและไม่มีอารมณ์ทางเพศ เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่พบ อาจมีความแตกต่างกันไปตามร่างกายแต่ละคนแต่ส่วนมากก็จะเกิดคล้ายกันและจะหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง

การเปลี่ยนแปลงต่างๆ มีอันตรายและจะส่งกระทบต่อลูกหรือไม่?

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังคลอดนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นกระบวนการการปรับตัวของร่างกายจึงไม่มีอันตรายใดๆ นอกจากนี้ยังไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อเด็กทารกอีกด้วย

ร่างกายจะกลับมาเป็นปกติในระยะเวลาเท่าไร?

สำหรับปัญหานี้นั้นอยู่ที่ร่างกายของคุณแม่แต่ละคน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วร่างกายจะเริ่มกลับมาเป็นปกติประมาณ 6 สัปดาห์หลังคลอดบุตร

แม่ ลูก เด็ก ทารก
แม่ ลูก เด็ก ทารก

ภาวะ Baby Blue คืออะไร อันตรายหรือไม่?

ชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า Baby Blue นั้นคือภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เกิดขึ้นจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน ซึ่งอาการซึมเศร้าเหล่านี้หากเกิดขึ้นในคุณแม่ที่มีการตอบสนองปกติก็จะสามารถกลับมาอารมณ์มั่นคงได้ในเวลาไม่นาน แต่หากเกิดในคุณแม่ที่มองโลกแง่ร้ายหรือมีประสบการณ์ที่ไม่ดีในอดีตก็อาจส่งผลกระทบรุนแรงได้ ดังนั้นคนใกล้ชิดควรให้กำลังใจและดูแลคุณแม่ที่เกิดภาวะซึมเศร้ารุนแรงอย่างใกล้ชิด

เตรียมพร้อมสำหรับรับมืออาการ Baby Blue อย่างไรดี?

สำหรับข้อนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการรับมือกับอารมณ์ซึมเศร้าในคุณแม่แต่ละคน นอกจากรอให้ระดับฮอร์โมนกลับมาเป็นปกติซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลาตั้งแต่ 1-6 สัปดาห์แล้ว การทำอารมณ์ให้แจ่มใส สงบ ผ่อนคลายก็เป็นตัวช่วยที่ดีในการปรับอารมณ์ให้กลับมาเป็นปกติเช่นกัน

เกิดอาการ Baby Blue ต้องไปรักษาหรือพบแพทย์หรือไม่ อาการนี้ส่งผลถึงลูกหรือเปล่า?

ภาวะซึมเศร้าโดยทั่วไปนั้นไม่ส่งผลกระทบถึงเด็กทารก แต่อาจเป็นอุปสรรคในการดูแลลูกอยู่บ้างหากเกิดอาการซึมเศร้ารุนแรงเป็นเวลานาน ซึ่งภาวะซึมเศร้านี้ส่วนใหญ่แล้วจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปเองเมื่อระดับฮอร์โมนคงที่ รวมถึงได้รับกำลังใจจากคนรอบตัว แต่หากรู้สึกว่าอาการซึมเศร้าของตัวเองไม่ดีขึ้น คุณแม่ก็สามารถไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำปรึกษาและคำแนะนำ รวมถึงแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมได้ค่ะ

แม่ลูกเด็ก
แม่ลูกเด็ก

อาการผมร่วงผิดปกติหลังคลอดมีอันตรายหรือไม่?

ภาวะผมร่วงมากช่วงหลังคลอดนั้นไม่ใช่อาการที่เป็นอันตรายหรือสัญญาณอันตรายแต่อย่างใด เพราะเกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนเช่นเดียวกับอาการแปลกๆ ของร่างกายอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผมจะร่วงมากติดต่อกันประมาณไม่เกิน 120 วัน หลังจากนั้นจะลดลงเรื่อยๆ จนกลับมาเป็นปกติในที่สุด

มีวิธีดูแลรักษาอาการผมร่วงมากๆ หลังคลอดหรือไม่?

แม้จะไม่ใช่ภาวะที่เป็นอันตราย แต่หากต้องการรักษาสุขภาพผมและหนังศีรษะให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็วก็สามารถทำได้ด้วยเกินรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในการบำรุงเส้นผม เช่น อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ ไข่แดง ผักสีเขียวเข้ม ผักคะน้า ผักโขม ไปจนถึงอาหารที่อุดมไปด้วยสังกะสีอย่างอาหารทะเลต่างๆ นอกจากนั้นควรสระผมด้วยแชมพูสูตรอ่อนโยน และระหว่างสระก็นวดศีรษะเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหนังศีรษะมากขึ้น

ปัญหาสุขภาพแปลกๆ หลายอย่างที่เกิดขึ้นหลังคลอดส่วนมากแล้วไม่เป็นอันตรายและไม่มีอะไรให้คุณแม่ต้องกังวล แต่การทำความเข้าใจและรับมือกับมันอย่างถูกต้องก็สามารถทำให้เราดูแลตัวเองหลังคลอดได้เป็นอย่างดีค่ะ