พระเครื่อง เครื่องราง

สรรพคุณและประโยชน์ทางยาของเพกา

เพกาสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณทางยา เรียกว่าสมุนไพรเพกาทั้ง 5 เพราะตามตำรายาสมุนไพรนั้นเราสามารถใช้ทุกส่วนต่างๆ ของต้นเพกาได้ทั้งหมด ได้แก่ ราก ผัก ใบ เปลือกต้นและเมล็ด แม้ว่าจะเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ หากอย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์ก็ไม่ควรรับประทานฝักอ่อนอย่างยิ่ง เพราะเป็นผักที่มีฤทธิ์ร้อนอย่างมากทานแล้วอาจทำให้แท้งบุตรได้นั่นเอง

นอกจากนี้ ตามความเชื่อของคนโบราณยังห้ามไว้อีกว่า ต้นเพกาไม่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้าน เพราะฝักเพกานั้นมีลักษณะคล้ายปลายหอกหรือดาบ อาจทำให้ผู้อาศัยมีเหตุให้เกิดเรื่องร้อนใจจนเลือดตกยางออกได้ สำหรับสรรพคุณของต้นเพกาที่อาหารว่าง.com จะพามาดูคุณประโยชน์ทางยาของมันทั้ง 5 ส่วนนั้นก็มีดังนี้ค่ะ

สรรพคุณและประโยชน์ทางยาของเพกา

สรรพคุณและประโยชน์ทางยาของเพกา
ฝักอ่อน

– ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
– ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ (ใช้ได้ทั้ง 5 ส่วน)
– ลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้
– มีสารต้านอนุมูลอิสระจึงช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ ต่อต้านการเกิดริ้วรอยแห่งวัยและชะลอความแก่ได้
– ใช้แก้ร้อนใน และทำให้ร่างกายอบอุ่นได้ โดยเฉพาะการกินฝักอ่อนของเพกา
– ช่วยในการขับลม ผายลม ลดอาการท้องอืด จุกเสียดแน่น
– ฝักอ่อนของเพกามีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยสามารถกินเหมือนผักทั่วไปได้
– ฝักอ่อนและยอดอ่อนของเพกา จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดให้ลดลงได้
– บำรุงสมรรถภาพทางเพศและบำรุงกำลังทำให้มีเรี่ยวแรงและเชื่อว่าจะไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย
– บรรเทาและแก้อาการไอได้ โดยนำเมล็ดแก่ของเพกาประมาณครึ่งกำมือ-หนึ่งกำมือ หรือ 1.5-3 กรัม ใส่ลงไปในหม้อจากนั้นเติมน้ำเปล่า 300 มิลลิตร แล้วนำไปต้มด้วยไฟอ่อนจนเดือดประมาณ 1 ชั่วโมง พักไว้ให้เย็นแล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า-กลางวันและเย็น จนกระทั่งอาการไอดีขึ้น

สรรพคุณและประโยชน์ทางยาของเพกา

รากใบ
– แก้ไข้สันนิบาต
– บรรเทาอาการปวด ไข้ โดยนำใบเพกามาต้มน้ำดื่ม
– บรรเทาอาการปวดท้อง โดยนำใบเพกามาต้มน้ำดื่ม
สามารถใช้ได้ทั้งรากและใบ โดยจะช่วยให้ร่างกายเจริญอาหาร
– แก้ไข้ กระตุ้นการหมุนเวียนโลหิตให้ทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (ใช้เพกาทั้ง 5 ส่วน)
– ช่วยเรียกน้ำย่อยให้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น จึงดีต่อระบบการย่อยอาหาร
– แก้อาเจียนอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เปลือกสดของต้นเพกามาตำผสมกับน้ำส้มที่เอามาจากรังมดแดงหรือเกลือสินเธาว์

เมล็ด
บำรุงกระเพาะอาหาร ตับและปอด
เป็นยาขับถ่าย ช่วยระบายท้อง
– บรรเทาอาการแน่นหน้าอก
– นำเมล็ดเพกามาผสมกับน้ำจับเลี้ยงดื่ม รสชาติจะยิ่งกลมกล่อมน่าดื่มยิ่งขึ้น อีกทั้งยังทำให้รู้สึกสดชื่นชุ่มคอด้วยค่ะ

สรรพคุณและประโยชน์ทางยาของเพกา

เปลือกต้น
– บำรุงโลหิต เพิ่มอัตราของการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยขับเลือดและดับพิษในโลหิตได้ด้วย
– ใช้รักษาเบาหวานได้ โดยนำเปลือกเพกา ใบไข่เน่า เปลือกต้นไข่เน่า บอระเพ็ด ใบเลี่ยน แก่นลั่นทม รากหญ้าคา รวมแล้ว 7 อย่าง น้ำหนักอย่างละ 2 บาท เมื่อได้ครบแล้วจึงนำมาต้มน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้วเล็ก โดยดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น
– แก้โรคบิด ขับลมภายในลำไส้ แก้อาการปวดท้องและลดการจุกเสียดแน่นท้องได้
– แก้ละอองไข้หรือโรคเยื่อเมื่อภายในช่องจมูกอักเสบ (ใช้เปลือกต้นมาตำผสมกับสุรา)
– ลดอาการอักเสบและอาการแพ้ต่างๆ
– ขับน้ำเหลืองเสีย ปรับสภาวะน้ำเหลืองให้กลับมาเป็นปกติ (ใช้เปลือกต้นและเพกาทั้ง 5 ส่วน)
– ช่วยสมานแผลและเป็นยาฝาดสมาน (ใช้เปลือกต้นและเพกาทั้ง 5 ส่วน)
– รักษาและช่วยบรรเทาอาการของริดสีดวงทวารหนักได้ โดยใช้เปลือกสดของต้นเพกากับสมุนไพรชนิดอื่นรวมกัน
– รักษาอาการอักเสบ ฟกช้ำ ปวดบวม โดยนำเปลือกต้นหรือรากมาผสมกับน้ำปูนใส จากนั้นทาลงไปในบริเวณที่เป็น (ใช้เปลือกต้น รากและเพกาทั้ง 5 ส่วน)
– แก้อาการคันผิวหนัง โดยนำเปลือกต้นเพกามารวมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ
– แก้พิษสุนัขบ้ากัด โดยนำเปลือกของต้นเพกามาตำให้ละเอียดแล้วพอกแผลที่ถูกกัด
– รักษาฝี บรรเทาอาการปวดฝี โดยนำเปลือกของต้นเพกามาฝนจากนั้นทาลงบริเวณรอบๆ ที่เป็นฝีก็จะช่วยให้อาการดีขึ้น
– แก้โรคงูสวัดได้ โดยใช้เปลือกของต้นเพกา เปลือกคูณ รากต้นหมูหนุนมาฝนผสมกับน้ำ จากนั้นนำมาทาผิวหนังบริเวณที่เป็นก็จะช่วยให้อาการของโรคหายเร็วยิ่งขึ้น
– เปลือกของต้นนำมาผสมกับสุราแล้วสามารถนำมาใช้กวาดปากเด็กเพื่อขับพิษซางได้
– แก้โรคไส้เลื่อน(ลูกอัณฑะลง) โดยใช้เปลือกของต้นเพกา รากเขยตายและหญ้าตีนนกมาตำรวมกันให้ละเอียดจากนั้นนำไปผสมละลายกับน้ำข้าวเช็ด แล้วนำขนไก่มาชุบพาดทาลงไปบนลูกอัณฑะ แนะนำว่าควรทาขึ้นไม่ควรทาลงค่ะ
– แก้องคสูตรซึ่งเป็นโรคที่เกิดในผู้ชาย โดยจะมีอาการเจ็บที่องคชาตและลูกอัณฑะ โดยใช้เปลือกของต้นเพกามารวมกับสมุนไพรชนิดอื่น
– แก้โรคมานน้ำหรือภาวะน้ำขังภายในช่องท้องจำนวนมาก โดยใช้เปลือกของต้นเพกามาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น
– หญิงคลอดบุตรที่ไม่สามารถทนอยู่ไฟหลังคลอดได้ ให้นำเปลือกของต้นเพกาผสมกับสุราจากนั้นนำมาฉีดตามตัวก็จะช่วยให้ผิวหนังรู้สึกชาขึ้นและทนการอยู่ไฟได้ดีขึ้น
– ช่วยขับน้ำคาวปลาและเร่งมดลูกให้เข้าอู่ได้เร็วขึ้น
– ช่วยรักษาท้องร่วง (ใช้เปลือกต้น รากและเพกาทั้ง 5 ส่วน)
– ช่วยแก้ละอองขึ้นภายในปาก คอและลิ้นหรืออาการฝ้าขาวที่มักเกิดขึ้นในปาก (ใช้เปลือกต้นตำผสมกับสุรา)
– หากนำเปลือกต้นเพกาใส่ลงไปผสมในอาหารมันจะช่วยแก้รสเผ็ดและเปรี้ยวให้ลดลงได้ และหากนำเปลือกต้นใส่ผสมกับมะนาวก็จะทำให้มะนาวไม่ออกรสเปรี้ยว

สรรพคุณและประโยชน์ทางยาของเพกา

การรับประทาน
เพกาเป็นผักที่นิยมนำมารับประทานโดยเฉพาะฝักอ่อนหรือยอดอ่อนของเพกา มักจะนิยมรับประทานเป็นผักเหมือนกับผักต่างๆ ทั่วไป ส่วนดอกนั้นนิยมนำมาลวกหรือต้มจิ้มกับน้ำพริก ลาบ ยำและก้อย นอกจากนี้ ยังสามารถนำฝักอ่อนไปหั่นตามแนวขวางชิ้นเล็กๆ สำหรับนำมาผัดหรือแกงก็ได้ สำหรับฝักของเพกาจะมีรสขม ดังนั้น ก่อนนำมารับประทานจึงควรนำไปเผาไฟให้สุกโดยให้ผิวด้านนอกของฝักเกรียมไหม้จากนั้นขูดเอาผิวส่วนที่ไหม้ออกไป เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดรสชาติความขมจากฝักเพกาลงได้แล้วค่ะ

นอกเหนือจากนี้แล้ว เพกายังเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ สำหรับใช้ในรูปแบบของยาสมุนไพรสำเร็จรูป โดยเฉพาะยาชนิดเม็ดที่เรียกว่า ‘แคปซูลเพกา’ นับเป็นการเพิ่มความสะดวกมากขึ้น เหมาะสำหรับคนยุคใหม่ที่วิถีชีวิตถูกใช้ให้หมดไปกับความเร่งรีบจนแทบไม่มีเวลาได้ใส่ใจการกินอาหาร หรือแม้แต่เลือกใช้สมุนไพรไทยอย่างที่ควรเป็นเท่าไรนักนั่นเอง

ทราบกันเช่นนี้แล้ว ก็อย่าลืมมองหาเพกาในรูปแบบแคปซูลมาติดบ้านไว้รับประทานเป็นยากันบ้างนะคะ