พระเครื่อง เครื่องราง

วิธีป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์ขาดสารอาหาร

โดยปกติแล้ว ผู้หญิงเราก่อนที่จะตั้งครรภ์สุขภาพร่างกายมักจะกระปรี้กระเปร่า สดชื่น ทำอะไรก็มักคล่องตัวอยู่เสมอ นั่งทำงานนานๆ โดยที่ยังไม่ทานอาหาร 2-3 ชั่วโมงก็ยังทำได้ แต่เมื่อคุณกลายเป็นว่าที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ทารกน้อยๆ แล้ว เรื่องของอาหารการกินย่อมเป็นสิ่งที่คุณแม่ควรให้ความใส่ใจมากไม่น้อยเลยทีเดียว และการทานอาหารที่พอดีก็คือการทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ลูกในครรภ์ขาดสารอาหาร เมื่อทารกสุขภาพแข็งแรงพร้อมเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ก็ทำให้หลังคลอดเขามีพัฒนาการทางร่างกายและสมองที่ดีขึ้นตามลำดับอีกด้วย

วิธีป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์ขาดสารอาหาร
วิธีป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์ขาดสารอาหาร

แต่ยังมีคุณแม่บางท่านอาจจะเข้าใจผิดๆ ไปว่าการทานมากทำให้เด็กอ้วนและคลอดยาก เลยอาจจะอดๆ อาหารหรือทานน้อยลงซึ่งนั่นเป็นวิธีที่ผิดและอาจทำให้ทารกขาดสารอาหารได้นะคะ ดังนั้น วิธีที่ถูกต้องคุณควรเลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้คุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วนย่อมดีที่สุด นอกจากป้องกันการขาดสารอาหารแล้วยังทำให้สุขภาพแข็งแรงทั้งคุณแม่และลูกน้อยอีกด้วยนะวันนี้เราจะมาพูดถึงการป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์ขาดสารอาหารกัน หากคุณแม่อยากทราบรายละเอียดแล้ว ตามมาอ่านบทความด้านล่างไปพร้อมกันเลยค่ะ

ผลกระทบเมื่อทารกขาดสารอาหาร

ในกรณีที่ร่างกายคุณแม่ขาดสารอาหาร ทารกในครรภ์ก็ย่อมได้รับผลกระทบไปตามๆ กันด้วย กล่าวคืออันดับแรกนั้นทารกมีโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งหรืออาจจะคลอดก่อนกำหนด หากไม่เช่นนั้น ทารกที่คลอดออกมาก็อาจจะมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อีกทั้งยังมีผลให้รกมีขนาดเล็กและมีการเติบโตได้ไม่ดีพอ เมื่อรกทำหน้าที่ไม่ดีพอ โอกาสที่ทารกในครรภ์จะเสียชีวิตก่อนคลอดก็ย่อมเป็นไปได้สูง โดยเฉพาะในช่วงแรกและช่วงปลายเดือนของการตั้งครรภ์ที่สมองและโครงสร้างทางร่างกายของเขากำลังพัฒนาอย่างเต็มที่มากขึ้น ในภาวะดังกล่าวหากทารกมีอาการขาดสารอาหารแน่นอนค่ะว่าอาจจะเป็นอุปสรรคหนึ่งที่ส่งผลให้เขามีการเจริญเติบโตช้ามากขึ้นได้ ดังนั้น คุณแม่ควรพบแพทย์ให้ตรวจเช็คอาการขาดสารอาหารไปควบคู่พร้อมกันด้วย

ข้อสังเกตเบื้องต้นกับการขาดสารอาหารในทารก

สำหรับข้อสังเกตเบื้องต้นแพทย์จะพิจารณาอาการขาดสารอาหารในทารกคือ จะตรวจดูขนาดท้องกับอายุครรภ์ว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่ ตรวจเช็คน้ำหนักตัวของคุณแม่ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือเปล่า โดยช่วงที่สามารถสังเกตได้คือช่วงที่มีอายุครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์ขึ้นไปนั่นเอง หากพบว่าทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร แพทย์ก็จะแนะนำให้ทานอาหารประเภทโปรตีนมากขึ้นหรือทานอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างครบถ้วนเพียงพอและแนะนำให้นอนหลับพักผ่อนให้มากขึ้นพร้อมกันนั่นเองค่ะ

วิธีป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์ขาดสารอาหาร
วิธีป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์ขาดสารอาหาร

คุณแม่กลุ่มเสี่ยงที่มีผลพวงกับปัญหาทางโภชนาการ

– แม่ที่นิยมสูบบุหรี่และดื่มสุราหรือดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ต่างๆ

– แม่ที่มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง โดยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้

– แม่ที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังซึ่งต้องเข้ารับการรักษาอย่างตลอดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

– แม่ที่มีการตั้งครรภ์ทารกแฝด

– แม่ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เนื่องจากร่างกายคุณแม่ในวัยนี้ยังต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของตัวแม่เองมากกว่าปกติ อาจจะส่งผลให้สารอาหารไม่เพียงพอจะลำเลียงไปหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์อย่างปกติเต็มที่ได้

– แม่ที่ต้องทำงานหนัก มีอาการเครียดมากจนเกินไปหรืออยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ

– แม่ที่ก่อนจะตั้งครรภ์ มีสุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรงอยู่แล้วหรือมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์และทานอาหารได้น้อยกว่าปกติก็ย่อมส่งผลให้ทารกในครรภ์ได้รับสารอาหารไปบำรุงครบถ้วนไม่ได้เช่นเดียวกัน

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ว่าที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ทารกน้อยๆ ที่กำลังจะลืมตามาดูโลกในไม่ช้า หากวันนี้คุณยังไม่ได้ใส่ใจดูแลสุขภาพด้านอาหารการกินอย่างครบถ้วนเพียงพอ จากนี้เมินจุดนี้กันไปไม่ได้แล้วนะคะเพื่อสุขภาพทารกน้อยที่สำคัญต่อชีวิตและเพื่อตัวคุณเองด้วย ดังนั้น หันมารับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอกันตั้งแต่วันนี้ดีกว่าเพื่อที่วันข้างหน้าที่เขาคลอดมา สุขภาพร่างกายจะได้แข็งแรงและมีพัฒนาการที่เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์เต็มที่ต่อไป