พระเครื่อง เครื่องราง

รับมือให้นมลูกหลังคลอด.. ตัดปัญหาน้ำนมขาดได้อยู่หมัด

เมื่อผ่านพ้นการคลอดลูกไป ก่อนที่คุณแม่มือใหม่จะรู้สึกโล่งอกก็อาจต้องพบปัญหาใหม่มาให้หนักใจเสียแล้ว ปัญหาที่ว่าก็คือเรื่องน้ำนมน้อย หรือมีปริมาณน้ำนมไม่เพียงพอให้ทารกดื่มนั่นเอง ซึ่งเรื่องนี้นับเป็นปัญหาที่ทำให้คุณแม่ยังสาวหลายคนทั้งกังวลใจและเครียดได้มากเลยทีเดียว วันนี้เราจึงนำเคล็ดลับเตรียมตัวให้ดีเพื่อรับมือกับช่วงเวลาให้นมลูกของคุณแม่หลังคลอดมาฝากค่ะ

แม่ลูกเด็ก
แม่ลูกเด็ก

สำหรับการป้องกันภาวะน้ำนมน้อยนั้น คุณแม่ต้องเตรียมตัวเป็นอย่างดีตั้งแต่ระหว่างตั้งครรภ์โดยการหาข้อมูลและทำความเข้าใจกับปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตน้ำนม ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเรื่องอาหารและโภชนาการต่างๆ และวิธีทำอย่างไรให้มีน้ำนมเพียงพอตลอดช่วงเวลาการให้นมบุตร นอกจากนี้ คุณแม่บางคนที่เข้าใจผิดว่าหน้าอกใหญ่จะสามารถผลิตน้ำนมได้มากกว่าขอให้แก้ไขความคิดใหม่นะคะ เพราะว่าขนาดของหน้าอกไม่มีผลกับปริมาณน้ำนมที่ผลิตได้ ดังนั้น การเตรียมตัวด้านข้อมูลให้แน่น จะทำให้เราสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกหลักในการเพิ่มความสามารถการผลิตน้ำนมยิ่งขึ้นค่ะ และเราก็ได้ทำการสรุปหลักที่คุณแม่ควรรู้สำหรับเตรียมตัวเพิ่มน้ำนมหลังคลอดมาฝากค่ะ

เคล็ดลับพร้อมรับมือช่วงเวลาให้นมลูก

1. เรียนรู้ข้อมูลเรื่องนมแม่ให้มากที่สุดในช่วงเวลาตั้งครรภ์ อย่าละเลยการศึกษาความรู้ใหม่ๆ เด็ดขาด

2. เปลี่ยนความเข้าใจผิดเรื่องขนาดหน้าอก เพราะหน้าอกใหญ่หรือเล็กก็ไม่มีผลต่อการผลิตน้ำนม

3. การเลือกฝากครรภ์กับแพทย์ที่เราสามารถพูดคุยและปรึกษาเรื่องการตั้งครรภ์อย่างเข้าใจมีผลเป็นอย่างมาก เพราะแพทย์จะเป็นผู้พูดคุยทำความเข้าใจและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงเช็คสภาพร่างกายว่ามีความผิดปกติด้านสรีระหรือไม่ นอกจากนี้แพทย์ยังเป็นผู้ให้คำปรึกษาในการเตรียมอุปกรณ์สำหรับปั๊มนมและเรื่องการให้นมลูกอีกด้วย 

ตั้งครรภ์
ตั้งครรภ์

4. แม้ช่วงแรกเกิดของลูกน้ำนมยังไม่ไหลก็ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะทารกน้อยสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องกินนมเป็นเวลาถึง 7 วัน ระหว่างนี้คุณแม่ก็ต้องพยายามกระตุ้นน้ำนมให้มากที่สุด

5. ใช้หลักการ “ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี”

6. ห้ามให้นมผงหรือนมผสมแก่เด็กแรกเกิดเด็ดขาด หากต้องใช้นมผสมต้องปรึกษาแพทย์ก่อน

7. หากคุณแม่ยังไม่มีน้ำนมในช่วงหลังคลอด ให้ทำความเข้าใจกับญาติผู้ใหญ่บางคนที่บ้านเพราะหากผู้ที่ไม่มีความเข้าใจเรื่องการให้นมมาต่อว่าคุณแม่ อาจทำให้เกิดความเครียดและมีผลต่อการให้นมลูกได้

8. เมื่อเกิดความไม่เข้าใจหรือพบปัญหาในการให้นมลูกสามารถปรึกษากุมารแพทย์ที่เชื่อใจได้ 

แม่ ลูก เด็ก
แม่ ลูก เด็ก

9. ก่อนคลอดลูกควรศึกษาสถานที่ เช่น ห้องเนิร์สเซอรี่ของโรงพยาบาลให้ดี และควรพูดคุยกับพยาบาลว่าไม่ให้ลูกดื่มนมผสม

10. แม้โรงพยาบาลบางแห่งจะออกตัวว่าสนับสนุนการดื่มนมแม่ แต่ก็อย่าเพิ่งวางใจค่ะ ควรพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด

11. ภายใน 6 เดือนแรกควรให้ลูกดื่มเฉพาะนมแม่เท่านั้น

12. หลังจากผ่านช่วง 6 เดือนจึงเริ่มให้อาหารเสริม แต่ควรให้นมแม่ต่อเนื่องไปอีก 2 ปี (หรือมากกว่า)

และนี่ก็คือ วิธีเตรียมตัวการรับมือช่วงเวลาให้นมลูกหลังคลอด จะเห็นได้ว่าไม่เฉพาะด้านร่างกายที่ต้องดูแลเอาใจใส่ แต่การหาข้อมูล ศึกษาโภชนาการ การเตรียมการด้านสถานที่ การพูดคุยกับแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการฝากครรภ์ รวมถึงสูติ-นรีแพทย์ที่รับผิดชอบการฝากครรภ์ด้วย

หากคุณแม่ท่านไหนเจอปัญหาน้ำนมน้อยก็อย่างเพิ่งกังวล เพราะการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง พูดคุยปรึกษากับแพทย์และการดูแลตัวเองอย่างดีจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้แน่นอนค่ะ